สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KOSEN - KMITL) หรือสถาบันโคเซ็นแห่งสจล. เป็นสถาบันการศึกษาที่ได้รับการก่อตั้งตามโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค ที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
สำหรับโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้มีความรู้และศักยภาพสูง เพื่อจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพและกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต และยังเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมที่มีความแปลกใหม่และสร้างสรรค์ นอกจากการเพิ่มบุคลากรที่มีคุณภาพในกลุ่มวิศวกรนักปฏิบัติ (Practical Engineers) ให้เพียงพอต่อความต้องการแล้ว ยังสามารถดึงดูดให้บริษัทต่างชาติ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงได้ทำสัญญาข้อตกลงกับรัฐบาลญี่ปุ่น ในโครงการเงินกู้ของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทางด้านการศึกษาและวิชาการทางด้านดังกล่าว เพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
สถาบันโคเซ็นแห่งสจล. นั้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันไทยโคเซ็นที่มีรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการบริหาร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุไว้ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันโคเซ็นแห่งสจล. เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจึงได้จัดตั้งสถาบันโคเซ็นแห่งสจล. เป็นหน่วยงานหนึ่งของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการอำนวยการสถาบันโคเซ็นแห่งสจล.
นอกจากนี้เพื่อให้การดำเนินงานทางด้านวิชาการของสถาบันโคเซ็นแห่งสจล. เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจึงได้ทำสัญญาข้อตกลงความร่วมมือกับ NIT (National Institute of Technology) ประเทศญี่ปุ่น ในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาของสถาบันโคเซ็นแห่งสจล. ให้เป็นไปตาม MCC (Main Core Curriculum) ที่เป็นหลักสูตรแกนกลางของสถาบันโคเซ็นประเทศญี่ปุ่น และเพื่อให้การเรียนการสอนของสถาบันโคเซ็นแห่งสจล. เป็นไปตามหลักสูตรที่วางไว้ ทางสถาบัน NIT จึงได้จัดส่งคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการมาสอนเป็นต้นแบบ และจัดเตรียมฝึกฝนและพัฒนาบุคลากรอาจารย์คนไทยให้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ตามรูปแบบของสถาบันโคเซ็นประเทศญี่ปุ่น
1. วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (เริ่มปี 2019)
2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (เริ่มปี2021)
3. วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (เริ่มปี 2023)
1. วิศวกรรมนวัตกรรมขั้นสูง (เริ่มปี2024)
นักศึกษาควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ
2. สนใจในการปฏิบัติ การประกอบสิ่งต่างๆ และสนใจที่จะเป็นนักประดิษฐ์/ วิศวกรที่เกี่ยวข้อง
กับหุ่นยนต์/ แมคคาทรอนิกส์/ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์/ วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3. มีความใฝ่ฝันในการสร้างเทคโนโลยี/ ระบบใหม่ๆ
4. ต้องการเป็นนักประดิษฐ์/ วิศวกรระดับสากล
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจะมีความสามารถดังต่อไปนี้
1. มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมและความสามารถในการปฏิบัติการเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสังคม
2. มีบุคลิกภาพที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้และความเข้าใจในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมไทยและความรักชาติ
3. มีความสามารถในการรับรู้เรื่องราวทั่วโลกและมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย
กับบุคคลอื่น
4. มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ๆโดยการหลอมรวมความรู้จากหลากหลายสาขาเข้าด้วยกัน
5. มีทัศนคติที่จะปฏิบัติงานด้วยความตระหนักในบทบาทและความรับผิดชอบของวิศวกรที่มีต่อสังคมเพื่อสร้างสังคมที่ดี
1. มีความสามารถในการออกแบบ นำเสนอและพัฒนาระบบหุ่นยนต์ / แมคคาทรอนิกส์เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะด้าน
2. มีความสามารถในการออกแบบ นำเสนอและพัฒนาระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับระบบหุ่นยนต์ / แมคคาทรอนิกส์
3. มีความสามารถในการออกแบบ นำเสนอ พัฒนา และแก้ปัญหาระบบเชิงกลสำหรับระบบหุ่นยนต์ / แมคคาทรอนิกส์
4. มีความสามารถในการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการควบคุมหุ่นยนต์ / ระบบแมคคาทรอนิกส์
5. มีความสามารถในการออกแบบ นำเสนอและพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อควบคุมระบบหุ่นยนต์ / แมคคาทรอนิกส์
1. มีความสามารถในการใช้งานและจัดการซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์
2. มีความสามารถในการทำความเข้าใจระบบปฏิบัติการและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน
3. มีความสามารถในการออกแบบ นำเสนอและพัฒนาระบบ IoT (Internet of Things)
4. มีความสามารถในการทำความเข้าใจระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิธีการบำรุงรักษาความปลอดภัยในเครือข่าย
เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
5. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ปรับปรุงพัฒนา (เช่นปัญญาประดิษฐ์ (AI) ข้อมูลขนาดใหญ่ ฯลฯ )
เพื่อสร้างระบบคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการพัฒนาสังคม
1. มีความสามารถในการออกแบบ นำเสนอและพัฒนาระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน
2. มีความสามารถในการออกแบบ นำเสนอและพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. มีความสามารถในการออกแบบ นำเสนอและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
4. มีความสามารถในการออกแบบ นำเสนอและพัฒนาระบบอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อใช้งานจริง
สำหรับเมืองอัจฉริยะและระบบการผลิต
5. มีความสามารถในการออกแบบ นำเสนอและดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ การจัดการด้านพลังงาน